Polkadot

ราคา Polkadot

dot

$6.25
bybit downs
-2.79%
24H
7D
14D
30D
60D
200D
1Y
ต่ำ
$--
สูง
$--
กำลังโหลด...

สถิติของตลาด

มูลค่าตลาด
9.52B
ปริมาณใน 24 ชม.
--
จำนวนเหรียญที่หมุนเวียนอยู่
1.52B
จำนวนเหรียญสูงสุด
--

สรุปราคา DOT แบบสด

ณ วันที่ 24 de jan de 2025 มูลค่าตลาดคริปโตเคอเรนซีทั่วโลกเท่ากับ $9.52B โดยมีการเปลี่ยนแปลง -2.75% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ราคาปัจจุบันของ DOT อยู่ที่ $6.25 โดยมีปริมาณการเทรด 24 ชั่วโมงล่าสุดที่ $-- โดยที่ DOT นั้น -2.79% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยมีอุปทานหมุนเวียนเท่ากับ 1.52B DOT และมีอุปทานสูงสุดเท่ากับ -- DOT ทั้งนี้ DOT ติดอันดับ 22 ตามมูลค่าตลาด โดยมีราคาสูงสุด 24 ชั่วโมงที่ $6.49 บันทึกเมื่อวันที่ 24 de jan de 2025 และราคาต่ำสุด 24 ชั่วโมงที่่ $6.20 บันทึกเมื่อวันที่ 24 de jan de 2025

ราคาสูงสุดของ DOT เท่ากับเท่าใด

DOT มีค่าจุดสูงสุดตลอดกาล (ATH) ที่ $54.98 ซึ่งบันทึกเมื่อวันที่ 4 de nov de 2021

ราคาต่ำสุดของ DOT เท่ากับเท่าใด

DOT มีค่าจุดต่ำสุดตลอดกาล (ATL) ที่ $2.70 ซึ่งบันทึกเมื่อวันที่ 20 de ago de 2020

เกี่ยวกับ Polkadot (DOT)

Polkadot คืออะไร?

Polkadot คือโปรโตคอลเครือข่ายที่เปิดตัวโดย Web3 Foundation และช่วยให้มีการถ่ายโอนข้อมูล (ไม่ใช่แค่โทเค็น) ข้ามแพลตฟอร์มบล็อกเชนได้ ความสามารถในการทำงานร่วมกันทำให้ Polkadot เป็นสื่อกลางระหว่างเชนต่างๆ อย่างแท้จริง โดยช่วยให้มีการประมวลผล ลงทะเบียน และทำอะไรอย่างอื่นอีกมากมายข้ามเชนได้ ซึ่ง Polkadot ต้องการสร้างความสามารถในการปรับขนาดในระดับสูงสุด โดยการผสานรวมบล็อกเชนทั้งหลายเป็นหนึ่งเดียวกัน ทว่าไม่ลดทอนความปลอดภัยลง

เป้าหมายอีกอย่างหนึ่งของ Polkadot ก็คือกำจัดการสื่อสารที่ล่าช้าระหว่างบล็อกเชนส่วนตัวกับบล็อกเชนสาธารณะออกไป บนเว็บไซต์ทางการของแพลตฟอร์ม Polkadot ได้พูดถึงตัวเองไว้ว่าเป็นโปรโตคอลที่ “มอบความสามารถในการปรับขนาดทางเศรษฐกิจแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยใช้ผู้ตรวจสอบความถูกต้องชุดเดียวกันในการรักษาความปลอดภัยให้กับบล็อกเชนต่างๆ”

DOT คืออะไร?

DOT คือโทเค็นดั้งเดิมของเครือข่าย Polkadot เนื่องจากไม่ได้กำหนดจำนวนสูงสุดของโทเค็น DOT เอาไว้ โทเค็นนี้จึงมีลักษณะเฟ้อตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่อัตราการเฟ้อจะมีความแปรผัน ในระบบนิเวศ Polkadot หน่วยที่เล็กที่สุดของโทเค็น DOT เรียกว่า “Planck” โดยหนึ่ง Planck เท่ากับ 0.0000000001 DOT

โทเค็น DOT มีหน้าที่หลักอยู่ 3 อย่าง ได้แก่:

  1. ดูแลความปลอดภัยและการดำเนินการของเครือข่ายผ่านการ Stake

  2. ช่วยให้ผู้ถือโทเค็นสามารถควบคุมการกำกับดูแลเครือข่าย 

  3. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเชนกับ Polkadot (ในฐานะ Parachain) ผ่านการเชื่อมโยง 

เมื่อทำการ Stake และเข้าร่วมเครือข่าย ผู้ใช้จะสามารถรับ DOT เป็นรางวัล โทเค็นส่วนใหญ่จะมอบให้กับผู้ตรวจสอบความถูกต้องในเครือข่าย และส่วนที่เหลือจะโอนไปเก็บไว้ในคลังของ Polkadot

 DOT ใช้ทำอะไร?

โทเค็น DOT มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดำเนินงานและดูแลรักษาเครือข่าย Polkadot  แต่ประโยชน์/หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของ DOT ก็คือการ Stake ผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของและ Stake โทเค็น DOT จะสามารถรับบทบาทที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของเครือข่ายอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ แล้วรับรางวัลตอบแทน 

บทบาทหลักทั้ง 4 ได้แก่:

บทบาทในการตรวจสอบความถูกต้อง

ผู้ตรวจสอบความถูกต้องจะตรวจสอบข้อมูลจากผู้เรียบเรียงในบล็อกของ Parachain ซึ่งในทางกลับกันก็เป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับ Relay Chain ด้วย

บทบาทในการเสนอชื่อ

ผู้เสนอชื่อปกป้อง Relay Chain โดยการคัดสรรผู้ตรวจสอบความถูกต้องที่น่าเชื่อถือและจัดสรรโทเค็น DOT ที่ตน Stake ให้กับผู้ตรวจสอบความถูกต้องเหล่านั้น พูดง่ายๆ ก็คือผู้เสนอชื่อจะทำหน้าที่โหวตนั่นเอง

บทบาทในการรวบรวม

ผู้รวบรวมจะรวบรวมธุรกรรมย่อยจากผู้ใช้หลายๆ รายและสร้างหลักฐานพิสูจน์ให้กับผู้ตรวจสอบความถูกต้องเพื่อนำไปใช้ยืนยันธุรกรรม

บทบาทในการดักจับ

“ผู้ดักจับ” จะสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเครือข่ายและรายงานพฤติกรรมน่าสงสัยให้ผู้ตรวจสอบความถูกต้องทราบ 

นอกเหนือจากบทบาทข้างต้นแล้ว โทเค็น DOT ยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกำกับดูแลและการเชื่อมโยง

ใครคือผู้ก่อตั้ง Polkadot?

Polkadot มีผู้ก่อตั้งทั้งหมด 3 คน ได้แก่ Dr. Gavin Wood, Robert Habermeier และ Peter Czaban Polkadot (DOT) ถือกำเนิดขึ้นมาในรูปของเอกสารไวท์เปเปอร์ที่เผยแพร่เมื่อปี 2559 โดย Dr. Gavin Wood ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและอดีต CTO ของ Ethereum

ในปี 2560 Gavin Wood ได้ก่อตั้ง Web3 Foundation เพื่อวิจัยเทคโนโลยีเว็บแบบกระจายศูนย์อย่าง Polkadot ขึ้นมา นอกจากนี้ ในปี 2558 เขายังได้ร่วมก่อตั้ง Parity Technologies กับอดีตหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยของบล็อกเชน Ethereum ที่ชื่อ Jutta Steiner ซึ่ง Parity Technologies ดำเนินงานด้านการพัฒนามากมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีหลักของ Polkadot

ในปี 2561 Parity ได้เปิดตัวกระบวนการพิสจน์แนวคิด (Proof of Concept) 2 แบบและ Parachain แรกของ Polkadot หลังจากนั้นจึงออก Polkadot เวอร์ชันเบต้าในเดือนพฤษภาคม 2563 และเปิดให้โอนโทเค็นได้ในเดือนสิงหาคม 2563

ระบบนิเวศ Polkadot ทำงานอย่างไร

ระบบนิเวศ Polkadot ช่วยให้สามารถสร้างบล็อกเชนได้ 3 แบบ

Relay Chain

นี่คือบล็อกเชนหลักของ Polkadot และใช้สำหรับสรุปรายการธุรกรรมในขั้นสุดท้าย โดย Relay Chain จะแยกการเพิ่มธุรกรรมใหม่ๆ ออกจากการตรวจสอบความถูกต้องของตัวเอง เพื่อเพิ่มความเร็วให้ได้มากขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้ว Relay Chain จะช่วยในการสร้างฉันทามติและแบ่งปันความปลอดภัยบนเครือข่ายเชนต่างๆ

Parachain

Parachain คือบล็อกเชนแบบกำหนดเองที่ใช้ทรัพยากรจาก Relay Chain มายืนยันความถูกต้องของธุรกรรม และมีโทเค็นเป็นของตัวเองสำหรับใช้งานตามที่กำหนดไว้

Bridge

Bridge ช่วยให้เครือข่าย Polkadot สื่อสารและเชื่อมต่อกับบล็อกเชนอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนโทเค็นและสินทรัพย์ข้ามบล็อกเชนโดยไม่ต้องใช้แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนส่วนกลาง ขณะที่จัดทำบทความนี้ (14 มิถุนายน 2565) มี Bridge สำหรับเชื่อมโยง Polkadot กับบล็อกเชนอื่นๆ ให้บริการแล้ว ได้แก่ Interlay Bridge ที่เชื่อมโยงระหว่าง Polkadot กับ Bitcoin ซึ่งอยู่ในระยะ Beta Testnet นอกจากนี้ Snowfork ยังได้สร้างการเชื่อมโยงสำหรับการใช้งานทั่วไปที่เรียกว่า Snowbridge สำหรับเชื่อมโยง Polkadot กับล็อกเชน Ethereum

องค์ประกอบทั้งสามทำให้เกิดเป็นพื้นฐานของระบบนิเวศ Polkadot ที่ช่วยให้ Polkadot ผสานรวมกับบล็อกเชนอื่นๆ และสร้างโซลูชันที่ประกอบด้วยหลายเชนขึ้นมา

เพราะเหตุใด DOT ถึงมีมูลค่า?

คริปโตเคอเรนซี DOT มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสนับสนุนและดำเนินการครือข่าย Polkadot ผู้ใช้ทุกรายที่โหวตและ Stake DOT จะสามารถโหวตรับหรือไม่รับข้อเสนอการอัปเกรดเครือข่าย โดยคะแนนโหวตจะคำนวณตามสัดส่วนอิงตามมูลค่าของโทเค็น DOT ที่ Stake 

กำไรจากการ Stake DOT จะอยู่ระหว่าง10 ถึง 15% ต่อปี นอกจากการ Stake เพื่อทำกำไรแล้ว Polkadot ยังให้รางวัลแก่ผู้ใช้ที่รับบทบาททั้งสี่เป็น DOT ที่ออกใหม่ด้วย แต่ในที่สุดแล้ว DOT มีมูลค่าเพราะว่าเป็นพื้นฐานในการทำงานของเครือข่าย Polkadot นั่นเอง

มี DOT หมุนเวียนอยู่เท่าไหร่?

ขณะจัดทำบทความนี้ (14 มิถุนายน 2565) DOT มีปริมาณสินทรัพย์หมุนเวียนประมาณ1 พันล้านโทเค็น ในตอนแรก ซอฟต์แวร์ของ Polkadot ยินยอมให้สร้างโทเค็น 10 ล้าน DOT โดยไม่จำกัดอุปทานสูงสุด และยังอนุญาตให้ปล่อยโทเค็น DOT ใหม่อย่างถาวร ณ อัตราการเฟ้อที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ทว่าในปีแรก อัตราการเฟ้อก็สูงถึง 10%

หลังจากการโหวตของผู้ถือโทเค็นในเดือนสิงหาคม 2563 จำนวนรวมของโทเค็นที่หมุนเวียนอยู่ในระบบได้รับการปรับใหม่เป็น 1 พันล้าน และโทเค็น DOT ได้รับการปรับมูลค่าเปน 1e10 Planck (0.0000000001) ต่อหนึ่งโทเค็น แทนมูลค่าเดิม 1e12 Planck

อะไรทำให้ Polkadot ไม่เหมือนใคร?

Polkadot เป็นเครือข่าย “แบบหลายเชนที่มีการแบ่งแยกย่อย” นั่นแปลว่าเครือข่ายจะประมวลผลธุรกรรมจำนวนมากบนหลายๆ เชน (Parachain) ได้พร้อมกัน ซึ่งพลังในการประมวลผลแบบขนานกันนี้ช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่ายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การออกแบบเครือข่ายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งประกอบด้วย Relay Chain และ Parachain ยังช่วยให้เครือข่ายทำธุรกรรมได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น Polkadot ประมวลผลธุรกรรมได้สูงสุด 1,000 รายการต่อวินาที (TPS) ในขณะที่ Bitcoin และ Ethereum ประมวลผลธุรกรรมได้แค่ 7 และ 30 รายการต่อวินาที ตามลำดับ 

ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของ Polkadot ก็คือ ผู้ใช้สามารถสร้างบล็อกเชนได้ตามความต้องการ โดยใช้เฟรมเวิร์ก Substrate ของ Polkadot ซึ่งบล็อกเชนดังกล่าวไม่เพียงรวดเร็วและพัฒนาได้ง่ายเท่านั้น แต่ยังยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ดีด้วย ยิ่งไปกว่านั้น Polkadot ยังมีการอัปเกรดอัตโนมัติ โดยไม่ต้องทำการแยกระบบ (Fork) เพื่ออัปเดตหรือแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ซึ่งเป็นอะไรที่แตกต่างจาก Bitcoin หรือ Ethereum 

Polkadot เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ (เช่น Cosmos, Ethereum)

ผู้ที่สนใจคริปโตหลายรายได้ตั้งฉายาให้กับ Polkadot  ว่าเป็น “นักฆ่า Ethereum” เนื่องจากทั้งสองบล็อกเชนนี้มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง โดยดีไซน์/สถาปัตยกรรมของ Polkadot มีเป้าหมายในการแก้ไขจุดอ่อนหลักๆ ของ Ethereum

ปัจจุบัน Ethereum เป็นคริปโตเคอเรนซีที่ซื้อขายกันมากที่สุดเป็นอันดับสองในตลาด ทั้ง Polkadot และ Ethereum ใช้เครือข่ายแบบแยกย่อยเหมือนกัน แต่ Relay Chain ของ Polkadot มีความยืดหยุ่นมากกว่า และใช้งานร่วมกันได้กับ Beacon Chain ของ Ethereum 

ถึงแม้ว่าแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์จาก ETH 2.0 จะสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย Polkadot ได้ แต่ ETH 2.0 เองนั้นไม่สามารถเชื่อมต่อกับแอปใดๆ ที่พัฒนาขึ้นมานอกเครือข่าย Ethereum ได้เลย ดังนั้น Polkadot จึงมีความสามารถในการใช้งานร่วมกันสูงกว่า และได้รับความสนใจอย่างมากผู้ใช้ในอนาคต 

อะไรทำให้ DOT ไม่เหมือนใคร?

นอกเหนือจากความสามารถในการใช้งานร่วมกัน ประสิทธิภาพในการปรับขนาดสูง และมีความปลอดภัยมากขึ้นแล้ว Polkadot ยังให้รางวัลอย่างงามสำหรับการ Stake และฟังก์ชันอื่นๆ ตรงข้ามกับ Bitcoin ที่จะให้รางวัลกับนักขุดที่ช่วยแก้ไขอัลกอริทึมที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และขุดบล็อกแต่ละบล็อกได้เท่านั้น 

นอกจากนี้ ยังมีโปรเจกต์/ฟีเจอร์อีกมากมายที่อยู่ระหว่างการพัฒนา (หรือพัฒนาแล้ว) บนเครือข่าย Polkadot ตัวอย่างเช่น วอลเล็ตส่วนขยายบนเบราว์เซอร์ แพลตฟอร์มคลาวด์ และ Block Explorer ประเภทต่างๆ ซึ่งโปรเจกต์และฟีเจอร์เหล่านี้จะเพิ่มมูลค่าให้กับ Polkadot รวมไปถึงโทเค็น DOT ได้อย่างแน่นอน

การกำกับดูแล Polkadot

การกำกับดูแลเครือข่าย Polkadot ดำเนินการโดยบุคคล 3 กลุ่มได้แก่

ผู้ถือโทเค็น DOT

ทุกคนที่ซื้อโทเค็น DOT จะสามารถใช้และ Stake โทเค็นของตัวเองเพื่อส่งข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเครือข่าย และโหวตรับหรือปฏิเสธข้อเสนอของคนอื่น

สภา

สภาของ Polkadot ได้รับเลือกโดยผู้ถือโทเค็น DOT และทำหน้าที่ตัดสินใจว่า ควรนำการเปลี่ยนแปลงในข้อเสนอมาใช้กับซอฟต์แวร์หรือไม่ นอกจากนี้ สมาชิกสภายังสามารถเสนอการเปลี่ยนแปลงเองได้ด้วย โดยข้อเสนอที่สภาเป็นผู้ส่งจะใช้คะแนนโหวตน้อยกว่าข้อเสนอที่ผู้ถือ DOT ทั่วไปส่งมา 

คณะกรรมการทางเทคนิค

สมาชิกคณะกรรมการทางเทคนิคคัดเลือกโดยสมาชิกสภา และมีหน้าที่จัดทำข้อเสนอพิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ทีมงานที่พัฒนา Polkadot มาตลอดจะได้เข้ามาอยู่ในคณะกรรมการทางเทคนิคโดยอัตโนมัติ 

กล่าวโดยรวมก็คือ Polkadot ใช้ระบบการกำกับดูแลที่มีความซับซ้อน ซึ่งทุกคนล้วนแต่มีสิทธิ์ออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือโทเค็น DOT ไปจนถึงนักพัฒนาเครือข่าย  

ซื้อ DOT ได้จากไหน

คุณสามารถซื้อ DOT ได้จากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซีชั้นนำรวมถึงBybit ด้วย

วิธีซื้อ DOT บน ByBIT

คุณสามารถซื้อ DOT บน Bybit ได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:

  1. ไปที่หน้าการเทรดสปอตของ DOT

  2. เลือกคู่เทรดจากฝั่งซ้ายมือของหน้า โดยคุณจะเลือกเทรด DOT กับ USDT, BTC หรือ USDC ก็ได้ นอกจากนี้แล้ว คุณยังทำกำไรจากโพสิชัน Short หรือ Long โดยการเทรด DOT3L และ DOT3S  กับ USDT ได้ด้วย

  3. เลือกประเภทคำสั่งที่ต้องการดำเนินการ: Limit Order, Market Order หรือ Conditional Order

สำหรับคำสั่ง Limit Order:

  1. เลือก Limit

  2. ระบุราคาคำสั่ง

  3. ระบุจำนวน DOT ที่คุณต้องการซื้อ

  4. คลิก ซื้อ DOT

  5. หลังจากยืนยันว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว ให้คลิก ซื้อ DOT

  6. ตรวจสอบรายละเอียดคำสั่งได้ภายใต้ เปิดใช้งานอยู่ บนหน้าเว็บ ส่วนในแอป Bybit ให้ไปที่ คำสั่ง

สำหรับคำสั่ง Market Order:

  1. เลือก Market

  2. ระบุจำนวนเงิน USDT ที่จ่ายเพื่อซื้อ DOT

  3. คลิก ซื้อ DOT

  4. หลังจากยืนยันว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว ให้คลิก ซื้อ DOT

  5. ดูรายละเอียดคำสั่งภายใต้ จับคู่

สำหรับคำสั่ง Conditional Order:

  1. เลือก Conditional

  2. ระบุราคาเงื่อนไข

  3. เลือกดำเนินการที่ ราคาตลาด หรือ ราคาที่จำกัดไว้

    1. ราคาตลาด: ไม่จำเป็นต้องตั้งราคาคำสั่ง

    2. ราคาที่จำกัดไว้: จำเป็นต้องตั้งราคาคำสั่ง

  4. ตามประเภทคำสั่ง:

    1. Market Buy: ระบุจำนวนเงิน USDT ที่จ่ายเพื่อซื้อ DOT

    2. Limit Buy: ระบุจำนวน DOT ที่คุณต้องการซื้อ

  5. คลิก ซื้อ DOT

  6. หลังจากยืนยันว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว ให้คลิก ซื้อ DOT

  7. ตรวจสอบรายละเอียดคำสั่งได้ภายใต้ Conditional บนหน้าเว็บ ส่วนในแอป Bybit ให้ไปที่ คำสั่งทั้งหมดคำสั่งปัจจุบัน

หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่คู่มือการเทรดสปอตของ Bybit ได้เช่นกัน

วิธีจัดเก็บ DOT

วอลเล็ต Polkadot จำนวนมากยินยอมให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บ โอน และรับโทเค็น DOT ได้ แถมบางวอลเล็ตยังให้ผู้ใช้ Stake โทเค็นหรือโหวตลงคะแนนข้อเสนอการกำกับดูแลเครือข่าย Polkadot ด้วยเช่นกัน วอลเล็ต Polkadot แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้:

วอลเล็ตร้อน

วอลเล็ตประเภทนี้จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและเข้าถึงได้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ เช่น เดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก ตัวอย่างของวอลเล็ต Polkadot แบบหลายช่องทาง ได้แก่ Lunie Wallet, Polkawallet, Ownbit และ Trust Wallet ซึ่งในบรรดาวอลเล็ตเหล่านี้ PolkaWallet กับ Lunie Wallet ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ Stake โทเค็นและรับรางวัลตอบแทนได้ 

วอลเล็ตเย็น

วอลเล็ตเย็นมักเรียกกันว่า “วอลเล็ตแบบฮาร์ดแวร์” หรือ “วอลเล็ตแบบออฟไลน์” ช่วยให้ผู้ถือโทเค็นดาวน์โหลดโทเค็นมาจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่ปลอดภัยที่จะเข้าถึงผ่านทางอินเทอร์เน็ตไม่ได้ ตัวอย่างเช่น SafePal Wallet และ Parity Signer

สรุปคือ หากคุณต้องการเข้าถึงโทเค็นได้อย่างรวดเร็ว ให้เลือกวอลเล็ตร้อน แต่ถ้าต้องการถือคริปโตไว้ในระยะยาว แนะนำให้ใช้วอลเล็ตเย็น

คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับ Polkadot ในวันนี้?
โหวตเพื่อดูว่าชุมชนคิดอย่างไร
ขาขึ้น
ขาลง
ติดตามเราบนโซเชียลมีเดีย