ราคา Chainlink
link
สถิติของตลาด
สรุปราคา LINK แบบสด
ณ วันที่ 21 Kas 2024 มูลค่าตลาดคริปโตเคอเรนซีทั่วโลกเท่ากับ $9.33B โดยมีการเปลี่ยนแปลง +3.44% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ราคาปัจจุบันของ LINK อยู่ที่ $14.89 โดยมีปริมาณการเทรด 24 ชั่วโมงล่าสุดที่ $-- โดยที่ LINK นั้น +3.47% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยมีอุปทานหมุนเวียนเท่ากับ 626.85M LINK และมีอุปทานสูงสุดเท่ากับ 1.00B LINK ทั้งนี้ LINK ติดอันดับ 20 ตามมูลค่าตลาด โดยมีราคาสูงสุด 24 ชั่วโมงที่ $15.35 บันทึกเมื่อวันที่ 21 Kas 2024 และราคาต่ำสุด 24 ชั่วโมงที่่ $13.91 บันทึกเมื่อวันที่ 21 Kas 2024
ราคาสูงสุดของ LINK เท่ากับเท่าใด
LINK มีค่าจุดสูงสุดตลอดกาล (ATH) ที่ $52.70 ซึ่งบันทึกเมื่อวันที่ 10 May 2021
ราคาต่ำสุดของ LINK เท่ากับเท่าใด
LINK มีค่าจุดต่ำสุดตลอดกาล (ATL) ที่ $0.148183 ซึ่งบันทึกเมื่อวันที่ 29 Kas 2017
เกี่ยวกับ Chainlink (LINK)
Chainlink (LINK) คืออะไร?
Chainlink (LINK) คือเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่ต้องการสร้างสะพานเชื่อมโยงระหว่างโลกบล็อกเชนเข้ากับผู้ให้บริการชำระเงินด้วยสกุลเงิน Fiat เช่น Visa, Wells Fargo และ HSBC
Chainlink เข้ามาแก้ไขปัญหาที่มีอยู่มานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำสัญญาอัจฉริยะ กล่าวคือ ปกติแล้วสัญญาดิจิทัลจะเชื่อมโยงกับเงื่อนไขบางอย่าง ซึ่งต้องพร้อมใช้งานผ่านทางแหล่งที่มาที่เป็นอิสระและไว้ใจได้ เครือข่าย Chainlink ช่วยแก้ปัญหานี้ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ใช้ Oracle และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กลายเป็นผู้ประกอบการโหนด
เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ดังกล่าวเปรียบเสมือนส่วนต่อประสานระหว่างผู้ให้ข้อมูลกับผู้รับข้อมูล ซึ่งยินยอมให้บล็อกเชนโต้ตอบกับฟีดข้อมูลภายนอก กิจกรรม และวิธีการชำระเงินได้ เครือข่าย Oracle จะให้ข้อมูลภายนอกเชนสำหรับใช้ในการทำหรือเป็นส่วนหนึ่งในสัญญาอัจฉริยะ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำสัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชนหลักๆ ทั้งหมด
LINK คืออะไร?
LINK คือโทเค็น ERC-677 ดั้งเดิมบนบล็อกเชน Chainlink และทำหน้าที่ตามมาตรฐานของโทเค็น ERC20 รวมทั้งช่วยให้การโอนโทเค็นประกอบด้วยส่วนข้อมูล (data payload) บางอย่าง
การใช้ LINK
ในระบบนิเวศของ Chainlink LINK เป็นสกุลเงินสำหรับใช้ตอบแทนการทำงานของผู้ให้บริการข้อมูลบนเครือข่าย ผู้ซื้อข้อมูลจะโอนโทเค็นให้กับผู้ให้บริการข้อมูล จากนั้นผู้ให้บริการข้อมูลจะนำโทเค็นที่ใช้กับสัญญาอัจฉริยะมาใช้เป็นหลักประกัน
หากข้อมูลที่มอบให้ไม่ถูกต้อง (หรือไม่ได้ให้ข้อมูล) สินทรัพย์ที่ฝากเอาไว้จะถูกนำมาใช้เป็นหลักประกันสำหรับชดเชยให้กับผู้รับข้อมูล และยิ่งผู้ให้บริการข้อมูลมีหลักประกันมากเท่าไหร่ ก็จะเลือกผู้รับข้อมูลได้มากขึ้นเท่านั้น
ผู้ให้บริการข้อมูลสามารถยืมโทเค็น LINK เพิ่มได้เพื่อเพิ่ม Pool หลักประกันของตัวเอง บริการ Stake จึงมีการเสนอโทเค็น และผู้ให้บริการข้อมูลจะได้รับส่วนแบ่งในรายได้จากการขายข้อมูล ดังนั้นแล้ว ผู้ให้บริการข้อมูลจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการข้อมูลรายอื่นๆ โดยตรง และเมื่อมีหลักประกันมากขึ้น ก็จะถูกมองว่ามีความปลอดภัยมากกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ ไปโดยอัตโนมัติ
ใครคือผู้ก่อตั้ง Chainlink (LINK)?
Chainlink ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน 2557 โดย Ari Juels, Steve Ellis และ Sergey Nazarov แต่เริ่มดำเนินงานจริงๆ ในปี 2560
ปัจจุบัน Ari Juels ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ Chainlink อีกทั้งยังเป็นศาสตราจารย์ใน Cornell University โดยมีความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีบล็อกเชน วิทยาการเข้ารหัสประยุกต์ และความปลอดภัยของระบบคลาวด์ ส่วน Steve Ellis เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของ Chainlink และยังดำรงตำแหน่งเป็น CTO และผู้ร่วมก่อตั้ง Chainlink Labs ที่เดิมมีชื่อว่า SmartContract ในขณะที่ Sergey Nazarov เป็นผู้ประกอบการที่รู้จักกันทั่วไปในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง Chainlink Labs และ CryptaMail
Chainlink (LINK) ทำงานอย่างไร?
Chainlink คือส่วนต่อประสานที่เชื่อมโยงสัญญาอัจฉริยะเข้ากับแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาล โดยจะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการทำสัญญาอัจฉริยะ ปัจจุบัน Chainlink มีการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสัญญาอัจฉริยะอื่นๆ มากมาย และถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสัญญาอัจฉริยะ เครือข่ายจะมอบข้อมูลทุกประเภทได้รวดเร็วเกือบจะแบบเรียลไทม์ ซึ่งสำคัญอย่างมากต่อการคาดการณ์ราคาในระยะสั้น
โปรเจกต์บน Ethereum จะให้รางวัลผู้ให้บริการข้อมูล (Oracle) เพื่อตอบแทนการทำงานบนเครือข่าย ซึ่งในระยะยาว ทางเครือข่ายวางแผนว่าจะให้บริการมาร์เก็ตเพลสข้อมูลบนบล็อกเชนอื่นด้วยนอกเหนือจาก Ethereum
สิ่งสำคัญของ Chainlink ก็คือชื่อเสียงของข้อมูลที่เครือข่ายมอบให้ เนื่องจากความถูกต้องของข้อมูลจาก Oracle ไม่มีทางรับประกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ข้อมูลของสัญญาอัจฉริยะจึงมักจะมาจาก Orable อิสระหลายตัว แต่ถึงอย่างนั้น Chainlink ก็ยังคงตรวจสอบชื่อเสียงของผู้จัดหาข้อมูลอย่างต่อเนื่องและนำ Oracle ที่ไม่ปลอดภัยออกจากเครือข่าย
ระบบโดยรวมต้องพึ่งพา Oracle ที่น่าเชื่อถือ ดังนั้น Chainlink จึงตรวจสอบผู้จัดหาข้อมูลอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และกลายมาเป็นการประเมินความพร้อมใช้งานที่มีการแบ่ง Oracle ออกเป็นกลุ่มต่างๆ
ตัวอย่างเกณฑ์การตรวจสอบได้แก่ เวลาที่ใช้ส่งข้อมูลที่ร้องขอไปยังสัญญาอัจฉริยะ ซึ่งการประเมินดังกล่าวทำให้มีการจัดลำดับชั้นของผู้ให้บริการข้อมูล และช่วยให้ผู้ให้บริการข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าได้รับผลตอบแทนมากขึ้นจากการให้บริการ ดังนั้น สัญญาอัจฉริยะที่ละเอียดอ่อนจะได้รับข้อมูลจากผู้ให้บริการข้อมูลที่ดีที่สุด ส่วนข้อมูลจาก Oracle มีราคาถูกกว่าก็จะเหมาะกับสัญญาอัจฉริยะที่มีความสำคัญน้อยกว่า
เพราะเหตุใด Chainlink (LINK) ถึงมีมูลค่า?
LINK คือโทเค็นดั้งเดิมบนบล็อกเชน Chainlink มูลค่าของโทเค็นในระบบนิเวศบล็อกเชนมาจากการที่โทเค็นช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ Oracle ได้เป็นหลัก
แล้ว LINK แก้ไข “ปัญหาเกี่ยวกับ Oracle” ได้อย่างไร?
ปัญหาเกี่ยวกับ Oracle มาจากการที่เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งสัญญาอัจฉริยะจำเป็นต้องพึ่งแหล่งข้อมูลภายนอกเพื่อให้สามารถมอบข้อมูลอินพุตได้อย่างถูกต้อง นั่นแปลว่าบางครั้ง ข้อมูลอินพุตก็ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้สัญญาอัจฉริยะทั้งฉบับเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ว่า Chainlink ถูกเข้าใจว่าเป็นส่วนต่อประสานประเภทหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การส่งต่อข้อมูลมีหลักการทำงานอย่างไร?
สำหรับ Chainlink การเชื่อมโยงระหว่าง Oracle กับสัญญาอัจฉริยะเรียกว่าการจับคู่ ซึ่งการจับคู่จะคล้ายคลึงกับการกำหนดข้อกำหนด กล่าวคือผู้พัฒนาสัญญาอัจฉริยะจะกำหนดข้อกำหนดสำหรับ Oracle และนำเสนอสัญญาของตัวเอง ข้อกำหนดบางส่วนเหล่านี้อาจจะเกี่ยวกับชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ และความถี่ในการส่งข้อมูล จากนั้น ผู้ให้บริการข้อมูลจะตรวจสอบว่าตนเองมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดหรือไม่ และถ้าจำเป็น ก็จะยอมรับข้อเสนอนั้น
Chainlink ช่วยในการเชื่อมโยงระบบเก่าเข้ากับบล็อกเชน เหตุผลเป็นเพราะหากใช้แหล่งข้อมูลแบบรวมศูนย์ สัญญาอัจฉริยะจะไม่มีทางปลอดภัยอีกต่อไป เพราะ Oracle แบบรวมศูนย์จะกลายเป็นเป้าโจมตีและถูกแทรกแซงได้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงจำเป็นต้องใช้ Oracle แบบกระจายศูนย์
Chainlink ช่วยให้ผู้สร้างสัญญาอัจฉริยะเลือก Oracle (Oracle ที่มีการแจกจ่าย) และแหล่งข้อมูล (แหล่งข้อมูลที่มีการแจกจ่าย) ได้เท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการ รวมทั้งกำหนดว่าจะใช้แหล่งข้อมูลไหนได้ด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัทที่เทรดหุ้นอาจจะรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้บริการหลายๆ ราย (Reuters, Bloomberg ฯลฯ) และนำมาประมวลผลต่อไป สำหรับชุดข้อมูลไบนารี จะสามารถสร้างค่าเฉลี่ยและทิ้งค่าผิดปกติได้ โดยโหนดที่ให้ค่าผิดปกติมาพร้อมกับข้อมูลจะต้องยอมเสียค่าปรับและได้คะแนนติดลบ
การ Stake
หลังจากพัฒนา Chainlink 2.0 มาหลายปี โดยทีมพยายามจะเปิดตัวการ Stake บนแพลตฟอร์ม ในที่สุดจะมีแผนกลยุทธ์ออกมาแล้ว โดยทางแพลตฟอร์มจะเปิดตัวการ Stake ในครึ่งหลังของปี 2565 สำหรับผู้ถือ LINK ซึ่งไม่เพียงช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ถือโทเค็นรับรางวัลได้ด้วย สิ่งนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขยายเครือข่าย Chainlink โดยผู้ถือโทเค็น LINK จะได้พบกับการ Stake โทเค็นที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 5% จึงเหมาะมากกับการสร้างรายได้แบบแพสซีฟ
อะไรทำให้ Chainlink (LINK) ไม่เหมือนใคร?
การผสานรวมเข้ากับเครือข่าย
เพื่อให้คุณเข้าใจอย่างชัดเจนว่าโทเค็น LINK ช่วยในการผสานรวมเข้ากับบล็อกเชน Chainlink ได้อย่างไร เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามีการมอบข้อมูลให้กับสัญญาอัจฉริยะในรูปแบบไหน
ชื่อ “Oracle” มาจากตำนานกรีกโบราณ หมายถึงผู้รอบรู้ทุกสิ่งที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสารสำคัญจากเทพทั้งหลาย เทคโนโลยี Orable ของ Chainlink ก็ทำงานโดยอาศัยหลักการนี้ ผู้ให้บริการข้อมูลจะได้รับคำขอจากผู้พัฒนาสัญญาอัจฉริยะ จากนั้นจะตรวจสอบว่าตนเองสามารถเรียกใช้และมอบข้อมูลที่ผู้สร้างสัญญาอัจฉริยะต้องการได้หรือไม่ Chainlink มอบมาร์เก็ตเพลสที่ Oracle บนบล็อกเชนและนักพัฒนามาพบปะกัน
นักพัฒนาจะผสานรวมเครือข่าย Oracle ได้ง่ายมาก โดย Oracle ของผู้ให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะสามารถผสานรวมเข้ากับสัญญาอัจฉริยะของคุณได้โดยการเขียนโค้ดง่ายๆ เพียงไม่กี่บรรทัดเท่านั้น และผู้ให้บริการข้อมูลจะได้รับรางวัลเป็นโทเค็น LINK เมื่อสามารถมอบข้อมูลได้ตามคำขอ ซึ่งในบริบทแบบนี้ นักพัฒนา Chainlink ได้พบกับปัญหาใหญ่ เพราะพวกเขาต้องรับประกันว่า Oracle ไม่ได้ถูกติดสินบน Chainlink จะเปรียบเทียบค่าของ Oracle ทั้งหมดตอนที่ส่งมอบข้อมูล เพื่อหา Oracle ที่อาจจะฉ้อโกง ดังนั้น แนะนำให้ใช้ Oracle จำนวนมากเพื่อจะได้รับประกันคุณภาพและความถูกต้องของข้อมูล
การดำเนินการหลักๆ ของเครือข่าย
โทเค็น LINK เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยใน Chainlink และมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ยิ่งมีการส่งคำขอในเครือข่ายของ Chainlink มากเท่าไหร่ ค่าธรรมเนียมก็จะเกิดขึ้นมากเท่านั้น ส่งผลให้ราคาของโทเค็นสูงขึ้น เนื่องจากโทเค็นมีอุปทานจำกัดเพียง 1 พันล้านเหรียญ และหากเทคโนโลยีบล็อกเชนทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต Chainlink ก็อาจจะกลายเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาดังกล่าวด้วย
มีโทเค็น LINK หมุนเวียนอยู่เท่าไหร่?
ขณะที่จัดทำบทความนี้ (13 มิถุนายน 2565) ราคาปัจจุบันของ LINK อยู่ที่ $5.42 และมีปริมาณการเทรดในรอบ 24 ชั่วโมงมากกว่า $768 ล้าน ปัจจุบัน Chainlink มีมูลค่าตลาดประมาณ $2.5 พันล้าน โดยมีสินทรัพย์หมุนเวียนอยู่ในระบบ 467,009,549.52 เหรียญ และมีอุปทานรวมสูงสุด 1,000,000,000 เหรียญ
อุปทานรวมสูงสุดเท่าเดิมมาตลอดนับตั้งแต่มีการเสนอขายเหรียญครั้งแรก (ICO) ตอนเปิดตัว LINK เมื่อเดือนกันยายน 2560
จากข้อมูลที่บันทึกไว้ในเอกสาร ICO มีการแจกจ่ายโทเค็นให้กับผู้ประกอบการโหนด กิจกรรมการขายแก่สาธารณะ และบริษัทเพื่อพัฒนาเครือข่าย Chainlink อย่างต่อเนื่อง โดยจัดสรรโทเค็นให้ 35%, 35% และ 30% ตามลำดับ
วิธีการขุด LINK
Chainlink ใช้กลไกฉันทามติแบบ Proof of Stake (PoS) เนื่องจากเป็นโทเค็นแบบ ERC-677 ที่ทำงานบนเครือข่าย Ethereum และเนื่องจากเป็นฟีเจอร์ความปลอดภัยเสริม จึงมีการใช้การพิสูจน์แบบไม่ต้องเปิดเผยข้อมูล เพื่อยืนยันว่าโหนดได้ทำธุรกรรมโดยไม่เปิดเผยรายละเอียดของธุรกรรมมากไปกว่านั้น ซึ่งคล้ายกับเทคโนโลยีที่คริปโตยอดนิยมอย่าง Zcash นำมาใช้ โดย Chainlink นำหลักการเดียวกันนี้มาใช้ในการโต้ตอบกับโหนดและ Oracle เช่นกัน
วิธีจัดเก็บ LINK
เนื่องจาก LINK ทำงานเหมือนกับโทเค็น ERC20 คุณจึงสามารถใช้วอลเล็ตแบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ได้ทุกแบบที่รองรับ Ethereum, เช่น MetaMask และ Trezor นอกจากนี้ ยังมีบริการวอลเล็ต Chainlink อีกบางส่วนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับจัดเก็บและโต้ตอบกับโทเค็น LINK รวมถึงคริปโตสกุลหลักอื่นๆ ตัวอย่างเช่น Lumi Wallet ซึ่งเป็นวอลเล็ตที่น่าเชื่อถือ
วิธีซื้อ LINK
คุณสามารถซื้อ LINK ได้จากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซีชั้นนำรวมถึง Bybit ด้วย
การซื้อ LINK บน Bybit
คุณสามารถซื้อ LINK บน Bybit ได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:
เลือกคู่เทรดจากฝั่งซ้ายมือของหน้า สำหรับ LINK คุณจะต้องเทรดด้วย USDT เท่านั้น
เลือกประเภทคำสั่งที่ต้องการใช้: Limit Order, Market Order หรือ Conditional Order
สำหรับคำสั่ง Limit Order:
เลือก Limit
ระบุราคาคำสั่ง
ระบุจำนวน LINK ที่คุณต้องการซื้อ
คลิก ซื้อ LINK
หลังจากยืนยันว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว ให้คลิก ซื้อ LINK
ตรวจสอบรายละเอียดคำสั่งได้ภายใต้ เปิดใช้งานอยู่ บนหน้าเว็บ ส่วนในแอป Bybit ให้ไปที่ คำสั่ง
สำหรับคำสั่ง Market Order:
เลือก Market
ระบุจำนวนเงิน USDT ที่จ่ายเพื่อซื้อ LINK
คลิก ซื้อ LINK
หลังจากยืนยันว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว ให้คลิก ซื้อ LINK
ดูรายละเอียดคำสั่งภายใต้ จับคู่
สำหรับคำสั่ง Conditional Order:
เลือก Conditional
ระบุราคาเงื่อนไข
เลือกดำเนินการที่ ราคาตลาด หรือ ราคาที่จำกัดไว้
ราคาตลาด: ไม่จำเป็นต้องตั้งราคาคำสั่ง
ราคาที่จำกัดไว้: จำเป็นต้องตั้งราคาคำสั่ง
ตามประเภทคำสั่ง:
Market Buy: ระบุจำนวนเงิน USDT ที่จ่ายเพื่อซื้อ LINK
Limit Buy: ระบุจำนวน LINK ที่คุณต้องการซื้อ
คลิก ซื้อ LINK
หลังจากยืนยันว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว ให้คลิก ซื้อ LINK
ตรวจสอบรายละเอียดคำสั่งได้ภายใต้ Conditional บนหน้าเว็บ ส่วนในแอป Bybit ให้ไปที่ คำสั่งทั้งหมด → คำสั่งปัจจุบัน
หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่คู่มือการเทรดสปอตของ Bybit ได้เช่นกัน